หมอธีระวัฒน์ โพสต์ประกาศลาออก พร้อมเผยเหตุผล

1884

นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ หมอธีระวัฒน์ ได้โพสต์อัปเดตความคืบหน้าในการทำงานว่า

ตอนนี้ได้ลาออกจากผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2567 ที่ผ่านนมา

ที่ล่าสุด หมอธีระวัฒน์ ได้เผยเหตุผลที่ลาออกผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวอีกครั้ง ซึ่งมีเนื้อหาใจความดังนี้

เหตุผลที่ลาออกเป็นเรื่องของอนาคตของประเทศไทย วันที่ 30 เมษายน 2567 เป็นวันสุดท้ายในฐานะหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ตามที่ได้ยื่นจดหมายลาออก ในวันที่ 25 เมษายน 2567

ประเด็นสำคัญในการลาออกเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติภารกิจที่เป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อประชาชนและคนป่วย

1 -ทั้งนี้ ตั้งแต่องค์กรไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดที่ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาด โดยมีการร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่างประเทศ โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างไวรัสใหม่ที่มีความรุนแรงกว่าเดิม โดยมีกลุ่มข้ามชาติทำงานอยู่ในองค์กร

2 -อีกประการที่สำคัญคือองค์กรต่อต้านการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร ยกตัวอย่าง กัญชาและกันชง ในการช่วยดูแลบริบาล คนป่วยทั้งที่สามารถใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน และดังนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเต็มที่ โดยขจัดโทษ เพื่อให้คนไทยสามารถช่วยตนเองได้

3 -ในอีกส่วนที่ยังคงเป็น ข้อที่อธิบายไม่ได้ นั่นก็คือเมื่อมีข้อมูลการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยของผู้ที่ได้รับผลกระทบของวัคซีนในสถานพยาบาลขององค์กรเอง แต่ยังมีการปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งๆ ที่องค์กรควรที่จะประเมินข้อมูลถี่ถ้วนรอบด้าน ในเวลาที่ผ่านมา

ทั้งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ข้อมูลทางด้านการแพทย์ที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทและธุรกิจ ทั้งนี้โดยกลุ่มแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่เห็นความปลอดภัยของประชาชนเป็นที่ตั้ง ได้พยายามให้ข้อมูลผลกระทบมาตลอด แก่องค์กร

4 -ในทางที่ถูกที่ควร องค์กร ต้องให้มีการระงับใช้วัคซีน modified mRNA เสียก่อน รวมทั้ง

5 -ต้องตอบให้ได้ว่าวัคซีนที่องค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนา มีส่วนใดที่แตกต่างจากเดิมที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆรวมทั้งมะเร็ง และมีการปรับปรุงอย่างไรที่ทำให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันต้องเข้าใจว่าวัคซีนไม่ใช่คำตอบเดียวหรือคำตอบสุดท้ายในการป้องกันโรคและถ้าจะมีวัคซีนใหม่ต้องผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด