เฮลั่น! อาชีพนี้ไฟเขียวแล้ว แก้หนี้ เจรจาลดดอกเบี้ย-ห้ามแบงก์ฟ้อง

1686

มีรายงานเข้ามาว่า นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ของศธ. ว่า

ถือเป็นการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหนี้ครูฯครั้งแรกแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งมีคณะกรรมการที่มาจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมทั้งสถาบันการเงิน ผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฯลฯ

โดย ที่ประชุมการหารือมาตรการแก้หนี้ครู โดยเฉพาะมาตรการเร่งด่วนที่ต้องเร่งทำทันที คือ การเจรจาสถาบันการเงินขอขยายเวลามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ หลายโครงการซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019และพบว่า กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคมนี้

ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบทำหนังสือขอขยายมาตรการช่วยเหลือครูช่วยคราวไปถึงสถาบันการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 13 แห่ง ซึ่งสถาบันการเงินเช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ฯลฯ ก็พร้อมให้ความร่วมมือ นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติตั้งคณะทำงาน เพื่อยกร่างเอ็มโอยูฉบับใหม่

นายสุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับเอ็มโอยูฉบับใหม่ จะต้องสอดคล้องกับการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหนี้สินครู และสอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาล รวมถึงการให้สถาบันการเงินสามารถหักเงินเดือนครู เพื่อชำระหนี้ได้ ร้อยละ70 และต้องให้ครูมีเงินเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 30 หากครูมีเงินเหลือไม่พอกับยอดเงินที่ตกลงไว้

ก็ขอความร่วมมือไม่ให้ฟ้องร้องครู ซึ่งสอดรับกับนโยบายรัฐบาล ซึ่ง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำลังเจรจากับสถาบันการเงิน เพื่อขอลดอกเบี้ยเงินกู้ และขยายเงินงวดซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าไปจนถึงอายุ 75 ปีหรือไม่ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม จากการหารือ พบว่า การแก้ปัญหาหนี้สินครูเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น สหกรณ์ออมทรัพย์เอง ก็หารือปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งคงต้องขอบคุณกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรฯ ที่มีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง

โดยคาดว่า เอ็มโอยูฉบับใหม่ จะแล้วเสร็จทันเข้าที่ประชุมอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้ครูฯ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือเรื่องการนำข้อมูลการกู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์เข้าเครดิตบูโร ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา

เพื่อให้สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ในระบบรู้สถานะทางการเงินของผู้กู้แต่ละราย สามารถใช้ประกอบการพิจารณาปล่อยกู้ได้ การแก้ปัญหาหนี้ครูครั้งนี้ เป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะนายกฯ ลงมาเป็นแม่งานแก้ไขหนี้สินทั้งระบบด้วยตัวเอง และจะนำโมเดล การหักเงินเดือนให้เหลือใช้ในชีวิตประจำวันร้อยละ 30 ไปใช้กับกระทรวงอื่นด้วย

ในส่วนของศธ. ก็จะแก้ปัญหาหนี้สินครู ไปพร้อมๆ กับนโยบายรัฐบาล เชื่อว่า การแก้หนี้ครูครั้งนี้น่าจะเห็นผลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องขอบคุณรัฐบาล โดยภาพรวม ครู 9 แสนคนทั่วประเทศ กว่า ร้อยละ 80 มีหนี้สินรวม 1.4 ล้านล้านบาท

เจ้าหนี้รายใหญ่ คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ กว่า 8.9 แสนล้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด รองลงมาคือ ธนาคารออมสิน กว่า 3.49 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด และหน่วยงานอื่นๆอีกร้อยละ 11 ครูจำนวนมากกว่าร้อยละ 30 ที่มีเงินเดือนคงเหลือสุทธิหลังหักชำระหนี้ร้อยละ 30

โดย เท่าที่ดูตัวเลข หนี้วิกฤตสีแดง มีอยู่ประมาณ 2,000 ราย ต้องเร่งเข้าไปช่วยเหลือเป็นรายๆ แต่ที่น่าห่วงคือ กลุ่มสีเหลือ หนี้ที่ใกล้วิกฤต ซึ่งมีอยู่กว่า แสนราย ที่ต้องเร่งให้ความช่วยเหลือ ส่วนสีเขียว ส่วนตัวไม่กังวล เพราะหากมีมาตรการช่วยเหลือออกมาเพิ่มเติม ก็จะทำให้เกิดสภาพคล่องมากขึ้น รัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. กล่าว